หน่วยที่ 6 พื้นฐานกฏหมายที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
6.1 การพัฒนากฎหมายไอที
ฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (ข้อมูลกฎหมาย)
หรือมักเรียกกันว่า "กฎหมายไอที (IT กฎหมาย)
ในเบื้องต้นที่จำเป็นต้องมีการตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.
2541 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบต่อการจัดทำ
โครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่เสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมและเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ
(ข้อมูลคณะกรรมการเทคโนโลยีแห่งชาติ) หรือที่เรียกโดยย่อว่า
"คณะกรรมการไอทีแห่งชาติหรือกทสช (NITC)
"ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง
ๆ ที่กำลังดำเนินการจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้คณะกรรมการไอทีแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง
6 ฉบับโดยมอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์)
หรือที่มักเรียกโดยย่อว่า "เนคเทค" (เนคเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(วิทยาศาสตร์แห่งชาติและสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยี) หรือที่เรียกโดยย่อว่า "สวทช."
กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการไอทีแห่งชาติทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง
6
ฉบับเนคเทคจึงได้เริ่มต้นโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้นเพื่อปฏิบัติตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายจาก
รัฐบาลและคณะกรรมการไอทีแห่งชาติ
ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อบุคคล
ผลของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมมีมากมีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวางผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศกล่าวได้ดังนี้
1.
การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตสภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมืองมีการพัฒนาการใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกรวดเร็วมีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้านเช่นใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศใช้ควบคุมการทำงานของเครื่อง
ซักผ้าใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้านตัวอย่างการใช้รีโมทเพื่อความสะดวกในการควบคุมโทรทัศน์
2.
การเสริมสร้างความเสมอภาคในสังคมและการกระจายโอกาสเทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การกระจายข่าวสารไปได้ทั่วทุกหนแห่งแม้แต่ถิ่นทุรกันดารทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกลการกระจายการเรียน
รู้ไปยังถิ่นห่างไกลนอกจากนี้มีความพยายามที่จะใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร
3.
การเรียนการสอนในสถานศึกษาในสถานศึกษามีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนรู้เช่นวีดิทัศน์เครื่องฉายภาพโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอนคอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษาจัดตารางสอนคำนวณระดับคะแนนจัดชั้นเรียนทำรายงานเพื่อให้
ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียนปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษามากขึ้น
4.
รักษาสิ่งแวดล้อมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเช่นการดูแลรักษาป่าจำเป็นต้องใช้ข้อมูลมีการใช้ภาพถ่ายดาวเทียมการติดตามข้อมูลสภาพอากาศการพยากรณ์อากาศเป็นต้น
5.
การป้องกันประเทศกิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยีอาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วน
แต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์เช่นระบบควบคุมระบบป้องกันภัยและระบบเฝ้าระวัง
6. การผลิตในอุตสาหกรรมและการพาณิชยกรรมการแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมจำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิตเพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากและมีราคาที่ถูกลงเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมากนอกจากนี้ยังมี
การใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการการดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้าเพื่อให้ซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น
7.
การสร้างสรรค์เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวันและมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้นด้วยเหตุนี้เยาวชนจึงต้องเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปพัฒนาสิ่งต่างๆ
ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติโดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีหรือซอฟต์แวร์จากต่างประเทศทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ถูกลงในการนี้มีหลายสถาบันเช่นสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้มีการจัดแข่งขัน
การพัฒนาซอฟต์แวร์ทุกปีเพื่อพัฒนาความรู้ความสามารถและเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้แสดงความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น
กฎหมายคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
"ทรัพย์สินทางปัญญาเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมานานแล้วสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีความสำคัญมากเมื่อตอนปี
พ.ศ. 2500
พูดกันว่าเราจะลอกจากต่างประเทศมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าคิดที่จะจดทะเบียน
สิทธิบัตรเราสามรถใช้อะไรจากต่างประเทศได้โดยไม่เสียค่าใช้สิทธิการพูดอย่างนี้ไม่ถูกเป็นการดูถูกคนไทย
"
พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่อัญเชิญมาข้างต้นนั้นแสดงให้เราได้ทราบถึงพระราชดำริของพระองค์ท่านเกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาที่ทรงเล็งเห็นความสำคัญและพระปณิธานอันแน่วแน่ของพระองค์ในการที่จะแก้ไขปัญหาต่าง
ๆ
ที่เกิดขึ้นที่มีผลกระทบถึงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของพสกนิกรชาวไทยพระองค์ได้ทรงประดิษฐ์คิดค้นและสร้างสรรค์ผลงานวัตกรรมใหม่
ๆ มากมายจนเป็นที่ทราบและเลื่องลือไปถึงต่างประเทศในพระราชกรณียกิจของพระองค์อันสะท้อนให้
เห็นถึงพระอัจฉริยภาพและพระวิริยะสูงส่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นและทรงเป็นแบบอย่างให้กับนักประดิษฐ์ในการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทในการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์อันจะนำไปสู่การพัฒนาตนเองในอนาคตตามแนวพระราชดำริแบบเศรษฐกิจ
พอเพียง
ทรัพย์สินทางปัญญา
1. ทรัพย์สินทางปัญญาคืออะไร
ทรัพย์สินทางปัญญาหมายถึงผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์คิดค้นหรือสร้างสรรค์ของมนุษย์ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญโดยไม่คำนึงถึงชนิดของการสร้างสรรค์หรือวิธีในการแสดงออกทรัพย์สินทางปัญญาอาจเป็นสิ่งที่จับต้องได้เช่น
บริการแนวความคิดกรรมวิธีและทฤษฏีต่าง ๆ เป็นต้น
2. ประเภทของทรัพย์สินทางปัญญา
โดยทั่ว ๆ
ไปคนไทยส่วนมากจะคุ้นเคยกับคำว่า "ลิขสิทธิ์"
และจะใช้เรียกทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภทโดยที่ถูกต้องแล้วทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกเป็น
2 ประเภทที่เรียกว่าทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial
Property) และลิขสิทธิ์
(ลิขสิทธิ์)
2.1
ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมหมายถึงความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรมต่าง
ๆ
ความคิดสร้างสรรค์นี้จะเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้นการออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรมซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการหรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้น
ขึ้นใหม่หรือที่เกี่ยวกับตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้าที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขั้นทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมจึงสามารถแบ่งออก
ได้ดังนี้
- สิทธิบัตร (Patent)
- แบบผังภูมิของวงจรรวม
(แบบผังภูมิของบูรณาการ)
- เครื่องหมายการค้า (Trademark)
- (ความลับทางการค้า)
ความลับทางการค้า
- ชื่อทางการค้า (ชื่อการค้า)
- สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
(บ่งชี้ทางภูมิศาสตร์)
2.2
ลิขสิทธิ์หมายความถึงงานหรือความคิดสร้างสรรค์ในสาขาวรรณกรรมศิลปกรรมดนตรีกรรมงานภาพยนตร์หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดีหรือแผนกศิลปะแผนกวิทยาศาสตร์ลิขสิทธิ์ยังรวมทั้งสิทธิข้างเคียง
(เพื่อนบ้านขวา) ด้วย
3.
ความหมายของทรัพย์สินทางอุตสาหกรรมแต่ละประเภท
3.1
สิทธิบัตรหมายถึงหนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Utility
Model) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด
การประดิษฐ์คือความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้างหรือกลไกของผลิตภัณฑ์รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิตการรักษาหรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์
การออกแบบผลิตภัณฑ์คือความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการทำให้รูปร่างลักษณะภายนอกของผลิภัณฑ์เกิดความสวยงามและแตกต่างไปจากเดิม
ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอนุสิทธิบัตร
(อนุสิทธิบัตร) จะมีลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์
แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมากหรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย
3.2
แบบผังภูมิของวงจรรวมหมายถึงแผนผังหรือแบบที่ทำขึ้นเพื่อแสดงถึงการจัดวางและการเชื่อมต่อของวงจรไฟฟ้าเช่นตัวนำไฟฟ้าหรือตัวต้านทานเป็นต้น
3.3
เครื่องหมายการค้าหมายถึงเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตราที่ใช้กับสินค้าหรือบริการ
ได้แก่
เครื่องหมายการค้า (Trade
Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นเช่นมาม่ากระทิงแดงเป็นต้น
เครื่องหมายบริการ (Service
Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับริการเพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่นเช่นเครื่องหมายของสายการบินธนาคารโรงแรมเป็นต้น
เครื่องหมายรับรอง (Certification
Mark) คือเครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่นเพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้าหรือบริการนั้นเช่นเชลล์ชวนชิมแม่ช้อยนางรำฮาราลเป็นต้น
เครื่องหมายร่วม (Colective
Mark) คือเครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดย
บริษัท
หรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกันหรือโดยสมาชิกของสมาคมกลุ่มบุคคลหรือองค์อื่นใดของรัฐหรือเอกชนเช่นตราช้างของ
บริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น
3.4
ความลับทางการค้าหมายถึงข้อมูลการค้าที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปและมีมูลค่าในเชิงพาณิชย์เนื่องจากข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับและมีการดำเนินการตามสมควรเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ
3.5
ชื่อทางการค้าหมายถึงชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการเช่นโกดักฟูจิเป็นต้น
3.6
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์หมายถึงชื่อสัญลักษณ์หรือสิ่งอื่นใดที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่งภูมิศาสตร์และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพชื่อเสียงหรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเช่นมีด
อรัญญิกผ้าไหมไทยส้มโอนครชัยศรีแชมเปญคอนยัดเป็นต้น
ในปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่ 7 ฉบับคือ
1. พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ.
2522 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535
และพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542
2.
พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543
3. พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.
2537
4.
พระราชบัญญัติคุ้มครองแบบผังภูมิของวงจรรวม พ.ศ. 2545
5.
พระราชบัญญัติความลับทางการค้า พ.ศ. 2545
6.
พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ. 2546
7.
พระราชบัญญัติการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี พ.ศ. 2548
นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีพันธกรณีตามการเจรจาทางการค้าระหว่างประเทศที่จะต้องออกกฎหมายให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอื่น
ๆ ต่อไปในอนาคต
ลิขสิทธิ์หมายถึงสิทธิ
แต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ
เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ความสามารถและความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่นโดยงานที่
สร้างสรรค์ต้องเป็นงานตามประเภทที่กฎหมายลิขสิทธิ์ให้คุ้มครองโดยผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์โดยไม่ต้องจดทะเบียน
การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง
- หัวเรื่อง: การละเมิดลิขสิทธิ์โดยตรง: คือการทำซ้ำดัดแปลงเผยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แก่สาธารณชนรวมทั้งการนำต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าวออกให้เช่าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์
- หัวเรื่อง: การละเมิดลิขสิทธิ์โดยอ้อม: คือการกระทำทางการค้าหรือการกระทำ ที่มีส่วนสนับสนุนให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ดังกล่าวข้างต้นโดยผู้กระทำรู้อยู่แล้วว่างานใดได้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น แต่ก็ยังกระทำเพื่อหากำไร จากงานนั้น ได้แก่ การขายมีไว้ เพื่อขายให้เช่าเสนอให้เช่าให้เช่าซื้อเสนอให้เช่าซื้อเผยต่อสาธารณชนแจกจ่ายในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของลิขสิทธิ์และนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร
- สิทธิการรับรู้หรือรับทราบข้อมูลข่าวสารของราชการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
- รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 58 บัญญัติว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นเว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐความปลอดภัยของประชาชนหรือส่วนได้เสียอัน พึงได้รับความคุ้มครองของบุคคลอื่นทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ "
พ. ร. บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
พ. ร. บ.
คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นกฎหมายที่มีการยกร่างมานานเพื่อคุ้มครองการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลที่เรามอบให้หน่วยงานหรือภาคธุรกิจต่างๆไม่ให้ไปใช้ประโยชน์ในทางที่เราไม่อนุญาตเบื้องต้นก็เช่น
ข้อมูลที่อยู่เบอร์โทรศัพท์อีเมลล์และยังมีข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นความลับดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
วันนี้จะมาพูดถึงเนื้อหาในร่างพ. ร.
บ. กันต่อโดยสาระของกฎหมายคือ
- เป็นกฎหมายที่วางแนวหลักการทั่วไปในการรวบรวมใช้และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
- ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลคือผู้เก็บข้อมูลจะ กระทำการเก็บรวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ให้ความยินยอม แต่มีบทบัญญัติให้กระทำได้เช่นเพื่อประโยชน์ที่เกี่ยวกับชีวิตสุขภาพความปลอดภัยของเจ้าของข้อมูลเพื่อการสอบสวนของพนักงานสอบสวนหรือการพิจารณาคดี ของศาลหรือเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยหรือสถิติ
- ห้ามมิให้เก็บรวบรวมข้อมูลอันมีลักษณะต้องห้าม (ข้อมูลที่สำคัญ)
- ห้ามมิให้ผู้ที่ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเปิดเผยข้อมูลไปยังประเทศที่มิได้มีบทบัญญัติในการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- ต้องจัดให้มีระบบรักษา ความมั่นคงปลอดภัยแก่ข้อมูลส่วนบุคคล
- ให้มีคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลทำหน้าที่กำหนดนโยบายมาตรการหรือแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
เนื้อหาสำคัญจะอยู่ในมาตรา 19
กล่าวคือผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะกระทำการเก็บรวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้หากเจ้าของไม่ยินยอมเว้นแต่มีบทบัญญัติให้ทำได้คือ
(1) เป็นการปฏิบัติตามกฎหมาย
(2) เป็นไปเพื่อ
ประโยชน์ของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลและการขอความยินยอมไม่สามารถดำเนินการได้ในเวลานั้น
(3)
เป็นไปเพื่อประโยชน์เกี่ยวกับชีวิตสุขภาพหรือความปลอดภัยของเจ้าของข้อมูล
(4)
เป็นไปเพื่อประโยชน์แห่งการสอบสวนของพนักงานสอบสวนหรือการพิจารณาคดีของศาล
(5)
เป็นไปเพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยหรือสถิติและได้ เก็บข้อมูลเป็นความลับ
(6)
กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
มาตรา 22
ห้ามมิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเก็บรวบรวมข้อมูลเว้นแต่
(1)
ได้รับการยกเว้นตามมาตรา 19
(2)
เป็นสิ่งที่ได้จากการดูแลหรือสังเกตการณ์จากการแสดงกีฬาหรือกิจกรรมอื่น ๆ
ที่คล้ายคลึงกันและบุคคลนั้น
ถูกเก็บข้อมูลหรือเข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจหรือกิจกรรมนั้นเป็นสิ่งที่เปิดเผยต่อสาธารณะ
(3)
เป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาตัดสินความเหมาะสมของบุคคลในการที่จะได้รับรางวัลเกียรติยศหรือผลประโยชน์อื่นที่คล้ายคลึงกัน
(4) เป็นการปฏิบัติตามสัญญาที่ทำกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
(5) มี
ความจำเป็นอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
และยังมีลักษณะ
"ข้อมูลต้องห้ามที่ห้ามเก็บ" ตามมาตรา 23 คือ
(1)
ข้อมูลที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศประวัติอาชญากรรมหรือการกระทำผิดหรือได้รับโทษใด
ๆ ประวัติสุขภาพแหล่งกำเนิดของเชื้อชาติหรือเผ่าพันธุ์ความคิดเห็นทางการเมือง
ความเชื่อในทางศาสนา (2) ข้อมูลที่อาจเป็นผลร้ายทำให้เสียชื่อเสียงหรืออาจก่อให้เกิดความรู้สึกเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมหรือความไม่เท่าเทียมกันแก่บุคคลใด
(3) ข้อมูลอื่นตามที่กำหนดใน กฎกระทรวง
ส่วนการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลมีกำหนดไว้คือมาตรา
25 ห้ามใช้ข้อมูลโดยมิได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากเจ้าของข้อมูลมาตรา 27
ห้ามิให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากเจ้าของข้อมูลเว้นแต่
(1) เปิดเผยแกททนายความของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งให้ว่าความในคดี
(2)
เพื่อวัตถุประสงค์ในการเก็บหนี้ซึ่งเจ้าของข้อมูลต้องชำระแก่ผู้ควบคุมข้อมูล
(3)
เปิดเผยแก่หน่วยงานซึ่งมีหน้าที่รักษาข้อมูลส่วนบุคคลไว้เป็นประวัติศาสตร์
(4)
เมื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐร้องขอในกรณีที่มีเหตุอันควร
สงสัยว่าข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเกี่ยวข้องกับความมั่นคงของประเทศและกิจการระหว่างประเทศ
ส่วนสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลนั้นกำหนดไว้ว่ามาตรา
41 กำหนดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคือ
(1)
ขอตรวจดูหรือขอสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
(2)
ขอให้แจ้งถึงการมีอยู่การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
(3)
ขอให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
(4)
ขอให้ระงับการใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีข้อมูลไม่ถูกต้อง
(5)
ขอให้ดำเนินการลบหรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อพ้นกำหนดการเก็บรักษาหรือเป็นข้อมูลที่เกินกว่าความจำเป็นตามวัตถุประสงค์
(6) ขอให้เปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลที่เกี่ยวกับตนในกรณีเป็นข้อมูลที่เจ้าของข้อมูลไม่ให้ความยินยอม
หากมีการละเมิดการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลกฎหมายให้สิทธิ์เจ้าของข้อมูลโดยมาตรา
45
ให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลร้องเรียนไปยังคณะกรรมการตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยคณะกรรมการฯ
จะทำหน้าที่ตรวจสอบ การกระทำใด ๆ ของผู้ควบคุมข้อมูลเกี่ยวกับความเสียหายที่เกิดขึ้น
และมาตรา 47
หากคณะกรรมการตรวจสอบแล้วว่าเรื่องร้องเรียนนั้นเป็นความจริงหรือเป็นการไม่ปฏิบัติตามพ. ร.
บ. นี้หรือประกาศที่ออกตามพ. ร.
บ. นี้ให้คณะกรรมการดำเนินการไกล่เกลี่ยหากไม่สามารถไกล่เกลี่ย
ได้ให้คณะกรรมการออกคำสั่งให้ผู้ควบคุมดำเนินการแก้ไขการกระทำของตนให้ถูกต้องหรือห้ามผู้ควบคุมที่กระทำการให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลให้ดำเนินการระงับความเสียหายในเวลาที่กำหนด
สำหรับโทษทางกฎหมายคือบทลงโทษตามพ. ร.
บ.
นี้มีทั้งโทษปรับทางปกครองและส่วนที่เป็นโทษอาญาโดยโทษปรับทางปกครองนั้นไม่เกินหนึ่งแสนบาทในกรณีที่ไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของการ
คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและโทษทางอาญาตามพ. ร. บ.
นี้คือโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาทกรณีที่ละเมิดข้อห้ามเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลอันจะนำไปสู่ความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูล
อย่างไรก็ตามสถานการณ์ปัจจุบันของกฎหมายนี้ยังไม่มีการออกมาบังคับใช้ในรัฐบาลน.
ส.
ยิ่งลักษณ์ชินวัตรก็หยิบยกร่างตัวนี้มาพิจารณาอีกครั้งเพราะเป็นกฎหมายที่ถูกบรรจุไว้เป็นส่วนหนึ่งของแผนนิติบัญญัติแห่งชาติซึ่งจะต้อง
จัดให้มีขึ้นเพื่อให้การดำเนินงานตามแผนการบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2555-2558
โดยครม. มีมติเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 28 ส.ค. 2555
และเตรียมบรรจุเข้าสู่วาระการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
แต่กฎหมายก็ชะงักไปจากการปฏิวัติรัฐประหารเสียก่อนซึ่งถ้าออกมาได้จะเป็นกฎหมายที่มีประโยชน์ในการคุ้มครองประชาชนได้อีกระดับหนึ่งซึ่งก็ต้องจับตากันต่อไปว่ากฎหมายจะผ่านเข้าสู่สภานิติบัญญัติหรือรอให้รัฐบาลที่
มาจากการเลือกตั้งมาสานต่อ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น